วันนี้เรามาลองสังเกตนิทานให้มากขึ้น
จากนิทานที่น้อง ๆ หลายคนรู้จักกันดี ดีกว่าค่ะ

อีเล้งเค้งโค้ง

เรื่อง : ชีวัน วิสาสะ
สำนักพิมพ์ : แพรวเพื่อนเด็ก

เรื่องย่อ

ห่านตัวหนึ่งได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับเมืองใหญ่ มันจึงออกไปเดินทางไปให้เห็นกับตาตนเอง

.......................................................................

 

หลาย ๆ คนถ้าเห็นหน้าปกเล่มนี้คงรออ๋อ กันแน่นอน ก็เจ้าห่านอีเล้งเค้งโค้งที่รู้จักกันดีน่ะแหละค่ะ ทุกคนอาจสงสัยว่า
เรื่องนี้เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว จะนำมารีวิวทำไมหนอ วันนี้พี่ดรุณจะพามาสังเกตนิทาน ลองมองให้ลึก ๆ กันมากขึ้น

ครั้งนี้พี่ดรุณไม่ได้มากล่าวถึงอีเล้งเค้งโค้งเสียทีเดียว แต่จะมาชวนดูเรื่องราวในสังคมของอีเล้งเค้งโค้งค่ะ แม้ว่าเราจะเห็นอีเล้งเค้งโค้งเป็นตัวเอก
เป็นตัวดำเนินเรื่องแล้วก็ตาม แต่ครูชีวันก็ได้สอดแทรกเรื่องราวต่าง ๆ เข้าไปในสังคมรอบตัวของอีเล้งเค้งโค้ง ทำให้นิทานดูมีเรื่องราวและมิติต่าง ๆ มากมาย

.......................................................................

ณ ห้องสมุด

ภายในห้องสมุดที่ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญและคงอยู่ในทุก ๆ เล่ม เพราะห้องสมุดสื่อถึงการหาความรู้ บ่อเกิดของปัญญา
นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาสอดแทรกอยู่มากมายทีเดียว ในที่นี้พี่ดรุณขอกล่าวถึงแค่เล่ม 1 นะคะ

ไปอ่านหนังสือ เขาลือโฆษณา
เที่ยวสุดสัปดาห์ เชิญมาเมืองใหญ่
เจ้าห่านอยากไป ส่งเสียงเป็นเพลง 
อีเล้งเค้งโค้ง

 

จากภาพเราจะเห็นได้ว่า เมื่อเราอ่านจบและส่งเสียงออกไปแล้ว สัตว์ทุกตัวต่างขมวดคิ้ว แถมมองมายังเจ้าห่านอีกด้วย
ซึ่งเป็นการสื่อโดยนัยไปถึงเด็ก ๆ ว่า ไม่ควรส่งเสียงดังในห้องสมุด เพราะจะเป็นการรบกวนนักอ่านคนอื่น ๆ

ถ้ามองลึกไปกว่านั้นอีกจะเขาของยีราฟพันผ้าไว้ 
เอ๋ เจ็บได้อย่างไรนะ

…………….

………….

…….

....

เด็ก ๆ เห็นรึยังคะ

..............

.............

.......

พี่ดรุณให้เวลามองหาอีกนิดนึง

................

.............

.........

......

ก็เพราะว่าชนกับพัดลมอย่างไรล่ะ

ครูชีวันได้ใส่เรื่องราวในภาพ เพื่อให้เด็กเกิดการเชื่อมโยงอีกชั้นหนึ่ง และทำให้สังคมภายในเรื่องเกิดความสมจริงมากขึ้น
มีเรื่องราวและที่มาที่ไปของตนเอง ไม่เพียงเท่านั้นหากนำอีเล้งเค้งโค้งตั้งแต่เล่ม 1 ยันเล่มล่าสุดออกมาวางเทียบกัน
เราจะเห็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงถึงกัน หากใครว่าง ๆ ลองเปิดเปรียบเทียบกันดูนะคะ ถ้าพบอะไรก็มาเล่าให้พี่ดรุณอ่านได้นะคะ

สิ่งที่ครูชีวันใส่สัญลักษณ์ และเรื่องราวต่าง ๆ ลงในหนังสือ ยังไม่หมดแค่เพียงในห้องสมุดเท่านั้น
แม้กระทั่งบนรถที่แน่นขนัด เมืองใหญ่ที่คนเบียดเสียดกันไปมา ก็มีเรื่องราวที่ดำเนินไปพร้อมกับ
การเดินทางของอีเล้งเค้งโค้ง ที่เด็ก ๆ จะได้สังเกตและเดินทางไปพร้อม ๆ กันด้วยค่ะ